วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 การใช้โปรแกมแฟลชสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น

         
 สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นแบบกันเอง


 Flash   เป็นโปรแกรมที่นิยมนำไปสร้างสรรค์ผลงานในด้าน Multimedia เช่น เว็บไซต์ เกม การนำเสนอผลงานเดิมที่โปรแกรม Flash ไม่ได้เป็นโปรแกรมสำหรับทำการ์ตูนโดยเฉพาะ   แต่เราสามารถนำมาประยุกต์สร้างการ์ตูน 2 มิติ ได้ เพราะโปรแกรมมีคุณสมบัติและเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสร้างการ์ตูนอย่างครบครัน   อีกทั้งยังสามารถวาดภาพได้อารมณ์การ์ตูนมากๆ ด้วย จึงทำให้  Flash เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่นักเรียนสร้างการ์ตูนนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ออกอากาศทางชื่อ Happy tree friends และ ที่เผยแพร่การ์ตูนเรื่องสั้นทางอินเทอร์เน็ต
-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-


การสร้างไฟล์งาน

            ในการเปิดโปรแกรมจะปรากฏหน้าจอ Welcome Screen เพื่อให้คลิกเลือกรูปแบบในการสร้างไฟล์งาน จากนั้นจึงสามารถปรับขนาดของสเตจได้ตามต้องการ
1.      คลิกเลือก Flash File (ActionScript 2.0) จากส่วนของ Create New เพื่อสร้างไฟล์งานใหม่


2.      คลิกปุ่ม OK จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Document Properties ขึ้นมา



ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Flash CS3


1.      แถบชื่อหัวเรื่อง (Title Bar) แสดงปุ่มควบคุมหลัก (Control Menu)
ชื่อโปรแกรม และปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม

2.      เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม

3.      ทูลบ็อกซ์ (Toolbox) แสดงปุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ สร้างภาพ ซึ่งสามารถ  ซ่อน / แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู  Windows > Tools

4.      สเตจ (Stage) พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที"
เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะ แสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น

5.      ไทม์ไลน์ (Timeline) หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน
ประกอบด้วยส่วนทำงานเกี่ยวกับ Layer และ Timeline

6.      แถบแก้ไข (Edit Bar) ใช้แสดงชื่อซีน จัดการกับหน้าจอโปรแกรม ปรับขนาดมุมมองของสเตจ ซึ่งสามารถซ่อน/แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู  Windows > Toolbars > Edit Bar

7.      แถบคุณสมบัติ (Properties) ใช้กำหนดค่าคุณสมบัติของ สเตจและออบเจ็กต์ต่างๆ โดยรายละเอียดที่ปรากฏขึ้นมาจะเปลี่ยนแปลงไปตามเครื่องมือหรือออบเจ็กต์ที่กำลังคลิกเลือก สามารถซ่อน/แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู  Windows > Properties > Properties หรือกดปุ่ม Ctrl + F3

     8.   พาเนล (Panel) หน้าต่างหรือชุดคำสั่งพิเศษที่ใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น พาเนล Color ใช้เลือกและผสมสี พาเนล Library ใช้จัดเก็บออบเจ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถเปิดเรียกได้ด้วยการคลิกที่เมนู Windows

-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

ครื่องมือต่างๆ บนทูลบ็อกซ์


 Selection Tool ( V ) คำสั่ง Selection การเลือกวัตถุ
 Subselection Tool ( A ) คำสั่ง Selection การเลือกวัตถุ
 Free Transform Tool ( Q ) ยืด หด ย่อ หรือขยายขนาดของวัตถุ
 Gradient Transform Tool ( F ) ปรับแต่งการไล่โทนสีแบบ Linear และ Radial
 Lasso Tool ( L ) คำสั่ง Selection การเลือกวัตถุ

 Pen Tool ( P ) วาดเส้นและส่วนโค้งต่าง
 Add Anchor Point Tool ( = ) เพิ่มจุดแองเคอร์
 Delete Anchor Point Tool ( - ) ลบจุดแองเคอร์
 Convert Anchor Point Tool ( C ) ปรับเปลี่ยนเส้นโค้งให้เป็นมุม
 Text Tool ( T ) พิมพ์ตัวอักษร
 Line Tool ( N ) วาดเส้นตรง
 Rectangle Tool ( R ) วาดสี่เหลี่ยม
 Oval Tool ( O ) วาดวงกลม
 Rectangle Primitive Tool ( R ) วาดสี่เหลี่ยมแบบปรับแต่งรูปทรงได้
 Oval Primitive Tool ( O ) วาดวงกลมแบบปรับแต่งรูปทรงได้
 PolyStar Tool วาดรูปหลายเหลี่ยม/รูปดาว
 Pencil Tool ( Y ) ดินสอวาดภาพ
 Brush Tool ( B ) แปรงระบายสี

 Ink Bottle Tool ( S ) ปรับแต่งเส้นขอบของวัตถุ
 Paint Bucket Tool ( K ) เทสีพื้น
 Eyedropper Tool ( I ) คัดลอกสีที่ต้องการ
 Eraser Tool ( E ) ยางลบ

Hand Tool ( H ) จับ Stage เลื่อนไปยังที่ต้องการ
 Zoom Tool ( M,Z ) ซูมย่อ/ขยายหน้าจอ
 Stroke color ปรับแต่งสีของเส้นขอบ
Fill color ปรับแต่งสีของพื้น
 Black and white เปลี่ยนสี Stroke Color กับ Fill Color เป็นสีขาว/ดำ
 Swap colors สลับสีระหว่าง Stroke Color กับ Fill Color
No color เปลี่ยนสี Stroke Color ให้ไม่มีสี

-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

ความเข้าใจเกี่ยวกับ Layer เบื้องต้น

     Layer เป็นเหมือนการวางแผ่นใสซ้อนทับกันเป็นลำดับชั้นเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยบริเวณของ Layer ที่ไม่มีรูปจะเห็นทุะลุถึง Layer ด้านล่าง Layer แต่ละ Layer จะมีคุณสมบัติเป็นของตัวเอง 
     การแก้ไขเนื้อหาหรือ Animation ใด ๆ กับ Layer หนึ่งจะไม่ส่งผลกับอีก Layer หนึ่ง นักออกแบบและพัฒนา Flash มักนิยมจัดอ็อบเจ็กต์ประเภทเดียวกันไว้บนเลเยอร์เดียวกัน ซึ่งจะทำให้การทำงานง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นนักออกแบบและพัฒนา Flash ยังนิยม สร้าง Layer folder เพื่อการจัดเก็บ Layer ที่มีอ็อบเจ็กต์ใน Layer นั้นคล้ายคลึงกันดังรูปประกอบ เป็นการจัดเรียงลำดับของ Layer ที่ดีทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน Flash



แบบฝึกหัด
1. Layer คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
2. ยืด หด ย่อ หรือขยายขนาดของวัตถุ ควรใช้เครื่องมือชื่อว่าอะไร

อ้างอิง
http://www.kirupa.com/developer/mx/cartoon.thml 
Narin Roungsan สร้างการ์ตูน Animation ด้วย Flash. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2551.416 หน้า.
บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2552). flashcs3.pdf, FLASH CS3. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2552, จาก http://www.stks.or.th/web/index2.php?option=com_docman&task=doc_view&gid=98&Itemid=31
ภัททิรา เหลืองวิลาศ. (2551). มือใหม่ Flash CS3 ใช้งานอย่างมือโปรฯ. กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Narin Roungsan. (2551). สร้างการ์ตูน Animation ด้วย Flash. กรุงเทพ : โปรวิชั่น.
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา (CARD) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.   การวาดการ์ตูน Flash Professional  ,2550.
สำนักบริการคอมพิวเตอร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.   ความรู้พื้นฐานสำหรับ   งานคอมพิวเตอร์กราฟิก Basic of Computer Graphic  ,2550.
บุญญาดา ช้อนขุดทด.   Insight Flash CS3 เจาะลึก อ่านง่าย ทำตามได้จริงโปรวิชั่น จำกัด , 2550.
อภิชัย  เรืองศิริปิยะกุล.   2D Animation และ Interactive ด้วย Flash 8ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด , 2550. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น