บทที่ 4 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Frame-by-Frame)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ เป็นการสร้างคีย์เฟรม หลายๆ คีย์เฟรมต่อเรียงกัน แต่ละเฟรมจะเป็นอิสระต่อกัน การแก้ไขเฟรมใดเฟรมหนึ่ง ไม่ส่งผลต่อเฟรมอื่นๆ ซึ่งหลักๆ มีอยู่ 3 รูปแบบคือ
1. การสร้างข้อความเคลื่อนไหว
2. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย้ายตำแหน่งวัตถุ
3. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย่อ-ขยายวัตถุ
รูปแบบที่ 1 การสร้างข้อความเคลื่อนไหว
ขั้นที่ 1 พิมพ์ข้อความลงบน Stage โดยเริ่มที่คีย์เฟรมใดคีย์เฟรมหนึ่ง
ขั้นที่ 2 เพิ่มคีย์เฟรมที่ 2 โดย กด F6 หรือ คลิกขวาที่คีย์เฟรมที่ 1 แล้วคลิก Insert Keyframe
ขั้นที่ 3 คลิกที่คีย์เฟรมที่ 2 พิมพ์ตัวอักษรตัวที่ 2 หรือข้อความที่ต้องการ
ขั้นที่ 4 ทำขั้นตอนที่ 2 ต่อด้วยขั้นตอนที่ 3 วนอย่างนี้ จนกว่าจะครบข้อความที่ต้องการ
ขั้นที่ 5 ทำจนครบข้อความที่ต้องการดังภาพ
ขั้นที่ 6 ทดสอบ Movie โดยกดCtrl+ Enter หรือ คลิกเมนู Control > Test Movie
จะได้ไฟล์ Movie เป็น .swf
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รูปแบบที่ 2. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย้ายตำแหน่งวัตถุ
ขั้นที่ 1 สร้างวัตถุขึ้นมา 1 ชิ้น จะวาดเป็นภาพธรรมดาหรือ ทำเป็น ซิมโบลก็ได้ บนเฟรมที่ 1
ขั้นที่ 2 คลิกขวาที่เฟรมที่ 2 หรือ กด ปุ่ม F6 เพื่อเพิ่มคีย์เฟรม (Keyframe)
ขั้นที่ 3 ใช้ลูกศรสีดำ (Selection Tool) คลิกแล้วย้ายตำแหน่งวัตถุขยับจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย
ขั้นที่ 4 ทำซ้ำขั้นที่ 2 คือ คลิกขวาที่เฟรมถัดไปคือเฟรมที่ 3 หรือ กดปุ่ม F6 เพื่อเพิ่มคีย์เฟรม จากนั้นใช้ลูกศรสีดำ (Selection Tool) คลิกแล้วย้ายตำแหน่งวัตถุอีกเล็กน้อย
ขั้นที่ 5 เพิ่มคีย์เฟรมต่อไปเรื่อยๆ และ ขยับวัตถุ ไปเรื่อยจนกระทั่งได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ
จากนั้นตรวจสอบการเคลื่อนไหวโดยการคลิกที่หัวอ่าน(Play Head) แล้วลากเม้าส์ซ้าย-ขวา
ขั้นที่ 6 กด Ctrl + Enter หรือ คลิกที่เมนู Control > Test Movie เพื่อชมตัวอย่าง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รูปแบบที่ 3. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย่อ-ขยายวัตถุ
การเปลี่ยนขนาดวัตถุให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างภาพเคลื่อนไหวตัวอย่างเช่นการทำให้วัตถุเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่อยู่ไกลมาใกล้เป็นต้น
ขั้นที่ 1 วาดวัตถุขึ้นมา 1 ชิ้น ดังรูป
|
ขั้นที่ 2 ใช้ลูกศรสีดำ (Selection Tool) ลากครอบวัตถุทั้งหมด
|
ขั้นที่ 3 กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกด ตัว G เพื่อสร้างกลุ่มของวัตถุ (Group) จะปรากฏขอบสีฟ้าขึ้น
|
ขั้นที่ 4 คลิกเลือกเครื่องมือ Free Transform Control จะมีกรอบสีดำขึ้นรอบวัตถุ
|
ขั้นที่ 5 นำเม้าส์มาชี้ที่กรอบสี่เหลี่ยมสีดำเล็กๆ
ที่มุมของวัตถุแล้วย่อยให้เป็นภาพขนาดเล็ก
|
ขั้นที่ 6 คลิกขวาที่เฟรมที่ 2 เลือก Insert Keyframe หรือ กดปุ่ม F6 เพิ่มคีย์เฟรม แล้วขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
|
ขั้นที่ 7 กดปุ่ม F6 เพิ่มคีย์เฟรมแล้วขยายภาพขึ้นอีกเล็กน้อย
|
ขั้นที่ 8 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 7 จนได้ขนาดภาพที่ต้องการอาจจะต้องเพิ่มหลายๆคีย์เฟรมก็ได้
|
ขั้นที่ 9 กด Ctrl+ Enter เพื่อชมผลงาน
หากต้องการทำให้ภาพใหญ่เป็นเล็กต้องทำให้ภาพในตำแหน่งเฟรมที่ 1 เป็นภาพขนาดใหญ่
เฟรมถัดไปค่อยๆปรับให้เล็กลงเรื่อยๆทีละเฟรม
|
ฝึกฝนบ่อยๆรับรองว่าจะต้องเก่งขึ้นแน่ๆครับ
1. Frame-by-Frame คืออะไร
2. Insert Keyframe คือคำสั่งอะไร
2. Insert Keyframe คือคำสั่งอะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น